วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การศึกษาตลอดชีวิต

การศึกษาตลอดชีวิต



ความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต

            คำว่า   การศึกษาตลอดชีวิต  แท้ที่จริงแล้วมิใช่ความคิดใหม่  มีหลักฐานว่าแนวความคิดนี้ได้มาแล้วช้านาน ในคัมภีร์กรูอาน มีคำสอนว่า บุคคลพึงเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในไปเปลไปจนถึงหลุดฝังศพ  (Fromcradle to grave)   นั้นก็คือเรียนรู้ตลอดเวลานับตั้งแต่เกิดจนตาย   (เอ็มมาดูมาทาร์ เอ็ม โบว์)   บางท่านก็กล่าวว่าการเรียนรู้นั้นเริ่มจากครรภ์มารดาจนถึงหลุมฝังศพ   (From womb tomb)  ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  โคมีเนียส  (Comenius)  นักการศึกษาชั้นนำผู้หนึ่งของโลกได้กล่าวเมื่อประมาณสามร้อยปีมาแล้วว่าการศึกษาควรจัดเพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ของคนทุกคน  เขาได้แบ่งชีวิตของมนุษย์เป็นช่วงๆ  แต่ละให้มีโรงเรียนสำหรับการสอนกล่าวคือ  โรงเรียนสำหรับคนแรกเกิด   โรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน    โรงเรียนสำหรับเด็ก   โรงเรียนสำหรับหนุ่มสาว    โรงเรียนสำหรับคนชรา      และโรงเรียนสำหรับเตรียมเพื่อความตาย   สรุปแล้ว  โคมีเนียส  เห็นว่ามนุษย์เราควรมีการศึกษาตั้งแต่เกิดจนอายุขัย   ดังนั้น      จึงกล่าวได้ว่าแนวคิดนี้ได้มีมาแล้วนับร้อยๆปี          มิใช่เป็นสิ่งเพิ่มมีขึ้นมาในปัจจุบันแต่อย่างใดผลงานของยูเนสโกเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากก็คือรายงานชื่อ  Lerning  To  Be (UNESCO ; 1972)   (เล่มแปลกเป็นภาษาไทย เรียกชื่อว่า การศึกษาเพื่อชีวิต)   รายงานนี้   เอ็ดการ์  ฟอร์   เป็นบรรณาธิการ   จึงเรียกชื่อว่า   รางงานเอ็ดการ์ฟอร์    รายงานนี้เลขาธิการยูเนสโกได้นำเสนอคณะกรรมการอำนวยการยูเนสโก   เมื่อเดือนกันยายน 1972     และได้นำเสนอที่ประชุมใหญ่เพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง   เมื่อเดือนตุลาคม  1972     อันเป็นผลให้รัฐสมาชิกยูเนสโกได้ให้ความสนใจและเริ่มศึกษารายงานนี้อย่างจริงจังตั้งแต่นับนั้นเป็นต้นมา

                รายงานเรื่อง  “Lerning To Be”     ได้เสนอว่า   เราขอเสนอให้ใช้การศึกษาตลอดชีวิตเป็นแนวความคิดหลักของนโยบายการศึกษาในอนาคต      ทั้งของประเทศพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา (UNESCO; 1972: 182)

                   จะเห็นว่ารายงานนี้ได้มองภาพรวมของการศึกษาในลักษณะการศึกษาตลอดชีวิดและเห็นว่าการวางนโยบายการศึกษาควรจะยึดแนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดหลัก   นอกจากนั้นยังมองเห็นการศึกษาตลอดชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นไม่เพียงต่อประเทศที่เจริญก้าวหน้าแล้วเท่านั้นแม้ประเทศที่กำลังพัฒนาก็ควรจะต้องมีการศึกษาตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน      เพียงแต่ว่าการนำแนวความคิดนี้จะรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศอย่างไรเท่านั้น   (UNESCO; 1972: 182)    

                      ประเทศไทยเราก็ได้มีการนำแนวคิด       การศึกษาตลอดชีวิต       มาสร้างแนวนโยบายในการจัดการศึกษา ดังปรากฏในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520     ดังนี้ (แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520)

                      14     รัฐพึ่งเร่งรัดและสนับสุนนการศึกษานอนโรงเรียนในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลได้มีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดชีวิต    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสศึกษาในระบบโรงเรียน   และโรงเรียนนอกโรงเรียน

                 28    การศึกษา28    การศึกษาตามนัยแห่งแผนศึกษานี้    เป็นสิ่งที่จะต้องทำต่อเนื่องกันตลอดชีวิต   ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน   และโรงเรียนนอกโรงเรียน



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น